สำหรับมือใหม่ที่กำลังมองหาไฟสตูดิโอสักตัว ไว้ถ่ายงานไม่ว่าจะเป็น ถ่ายภาพนิ่ง ถ่ายวิดีโอ และภาพยนตร์ แต่ก็ยังตัดสินใจไม่ได้ เนื่องจากไฟสตูดิโอในตลาดมีให้เลือกใช้งานเยอะ และสเปคการทำงานที่มีให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ควรจะเลือกไฟสตูดิโอแบบไหน กำลังไฟเท่าไหร่ และค่าความตรงสีเท่าไหร่ เพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานของแต่ละคน จึงไม่ง่ายเลยไฟดี ๆ สักตัว ดังนั้น ในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับเรื่องไฟสตูดิโอที่มือใหม่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อ จะได้ไม่พลาด และตัดสินใจซื้อไฟสตูดิโอได้ง่ายขึ้น
1. กำลังไฟและความสว่างให้เหมาะสมพื้นที่ที่ใช้งาน
ขนาดห้อง หรือสถานที่ เป็นส่วนสำคัญในการเลือกไฟ ถ้ามีห้องพื้นที่ขนาดใหญ่ แต่ใช้งานไฟดวงเล็ก ก็ทำให้แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือห้องขนาดเล็ก แต่ใช้ไฟดวงใหญ่ ก็อาจจะทำให้เปลืองพื้นที่ในการทำงาน นอกจากนี้ไฟสตูดิโอที่ให้ค่ากำลังวัตต์เยอะ ๆ ก็ย่อมมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งถ้าหากต้องการความสว่างโดยรวม หรือให้ความสว่างทั่วห้อง อาจจะใช้ไฟที่ให้ความสว่างสูง เช่น Nanlite Forza 150, 300 เหมาะกับใช้งานห้องสตูดิโอ มีพื้นที่กว้าง
หากใครที่อยากได้ความสว่างเฉพาะจุด ก็อาจจะเลือกไฟความสว่างลดน้อยลง แต่ให้ความสว่างเพียงพอ เช่น Nanlite Forza 60 ,60B เหมาะกับการใช้งานในคอนโด ห้องที่มีพื้นที่จำกัด
2. ค่าความเที่ยงตรงของสี
นอกจากการเลือกไฟสตูดิโอให้ความสว่างเพียงพอแล้ว คุณภาพของแสงก็เป็นส่วนสำคัญไม่แพ้กัน เพราะทั้งงานถ่ายภาพนิ่ง วิดีโอ และภาพยนตร์ คุณภาพของแสงและความเที่ยงตรงของสี เป็นตัวกำหนดคุณภาพของงานนั้นได้เลย ซึ่งค่าความเที่ยงตรงของสี หรือ ค่า CRI ที่ดีควรอยู่ที่ 85-95 และถ้าสูงกว่า 95 ขึ้นไปถือว่าดีมาก ๆ เพราะไฟที่มีค่า CRI สูง แสงที่ได้ก็จะช่วยให้อ้างอิงสีสินค้าแม่นยำ ทำให้สีใกล้เคียงกับธรรมชาติ
3. ชุดกระจายแสงและการใช้ Light modifiers ที่เหมาะสม
แสงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเปิดรายละเอียด รูปร่างของตัวแบบ หากใช้ Light modifiers หรือแผ่นสะท้อนแสง จะช่วยลดจำนวนไฟที่ต้องใช้งาน และช่วยเพิ่มความสว่างเฉพาะจุดได้ เพราะสามารถกำหนดทิศทางของแสง และรูปร่างได้ตามประเภทของ Light modifiers หรือใช้เป็นไฟเสริมเพื่อจัดการเงาให้ดูเป็นมืออาชีพได้เช่นกัน
เพราะนอกจาก Light modifiers จะกำหนดรูปร่างของแสงหรือให้ความสว่างเฉพาะจุดได้แล้ว ยังให้แสงนุ่มนวล ลดความกระด้างของแสง และความเข้มของเงาลดลง
4. ความสามารถในการใช้งานต่อเนื่อง
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ เรื่องความสามารถในการใช้งานไฟแบบต่อเนื่อง และการระบายความร้อนของไฟ เพราะระบบระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยยืดอายุการใช้งานของไฟ หากหลอดไฟคุณภาพต่ำ พอใช้งานนาน ๆ ก็อาจจะเกิดปัญหาความร้อนสะสม ซึ่งมีผลต่ออายุการใช้งานของไฟ ทำให้เกิดปัญหาระหว่างการทำงานได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของพัดลมทำงานเสียงดัง ก็อาจจะรบกวนการทำงานทั้งงานถ่ายวิดีโอและภาพยนตร์
ดังนั้น เลือกไฟสตูดิโอคุณภาพ มีระบบระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพ เสียงเบา ไม่รบกวนการทำงาน ซึ่งแบรนด์ NANLITE โดดเด่นในเรื่องขจัดความร้อนสะสมได้อย่างดี และไม่มีเสียงดังรบกวน เพื่อการทำงานได้แบบมืออาชีพ
5. ขาตั้งไฟแข็งแรงมีคุณภาพ
อย่าลืมว่า นอกจากไฟสตูดิโอแล้ว ยังมี Light modifiers ที่ติดตั้งเข้ากับไฟสตูดิโอ ทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ดังนั้นหน้าที่รับน้ำหนักของอุปกรณ์ไฟ คือ ขาตั้ง ซึ่งขาตั้งต้องแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี หากขาตั้งไฟไม่แข็งแรงและหักระหว่างทำงาน อาจจะทำให้อุปกรณ์ไฟเสียหาย ทั้งยังอันตรายต่อผู้ใช้งานและคนรอบข้างอีกด้วย
6. เลือกไฟราคาที่เหมาะสม ไม่แพงเกินไป
ไม่จำเป็นต้องเลือกไฟที่มีราคาสูง แต่ควรเลือกไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน สำหรับมือใหม่ก็อาจจะใช้ไฟที่ให้ความสว่างเพียงพอต่อการใช้งาน ทั้งยังคุมงบได้อีกด้วย เช่น Nanlite Fs-150 หรือ Nanlite Forza 60 เน้นความสว่าง เหมาะกับใช้งานกับโฮมสตูดิโอ คอนโด ที่มีพื้นที่จำกัด สำหรับใครที่ใช้งานให้แสงสว่าง ปรับอุณหภูมิสีได้ใช้งานแบบมืออาชีพแนะนำ Nanlite Forza 150 , 300 เป็นต้น ดังนั้นเลือกไฟสตูดิโอให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทำให้คุ้มงบได้ และใช้งานไฟได้อย่างคุ้มค่า