7 วิธีช่วยมือใหม่สำหรับงานไลฟ์สด ให้ราบรื่นขึ้นและง่ายขึ้นมากกว่าเดิม

7 วิธีช่วยมือใหม่สำหรับงานไลฟ์สด การทำไลฟ์สดในปัจจุบันดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่ต้องทำเพราะเป็นการเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจและลูกค้าได้ง่ายที่สุด และสามารถเพิ่มผู้สนใจให้มากขึ้นได้ด้วย ดังนั้นจึงมีกลุ่มผู้เริ่มต้นทำงานไลฟ์เกิดขึ้นทุกวัน ทั้งงานขาย งานสอน การพูดคุยในเรื่องราวที่สนใจร่วมกัน หรือแม้แต่การรวมกลุ่มเพื่อพูดคุยในเรื่องเดียวกัน ซึ่ง 7 วิธีช่วยมือใหม่สำหรับงานไลฟ์สด จะช่วยมือใหม่ในการวางแผนและเตรียมตัวเพื่อให้งานไลฟ์สดเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นครับ

1. รู้จักกลุ่มผู้ชมวางเนื้อหาและมีบางช่วงที่ผ่อนคลาย

งานไลฟ์นอกจากจะเป็นเรื่องการไลฟ์ด้วยภาพและเสียง การพูดคุยแบบพอดคาสต์ที่ทำเป็นการพูดคุยกันสด ๆ ก็ถือว่าเป็นงานไลฟ์ได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ไลฟ์ต้องมีเป้าหมายและรู้จักกลุ่มผู้ชมหรือกลุ่มผู้สนใจอย่างดี เพื่อที่ต้องการให้ได้รับเรื่องราวจากการสื่อสารได้อย่างเต็มที่ เมื่อเข้าใจกลุ่มผู้ชม ผู้ฟังจะสามารถออกแบบเรื่องราว เนื้อหาการพูดคุยและรูปแบบการนำเสนอได้ง่ายขึ้น ทั้งยังถูกใจผู้ที่รับสาร และออกแบบการนำเสนองานขายได้ดีขึ้นด้วย นอกจากนี้หากมีการพูดคุยเรื่องเครียด หรือมีบรรยากาศการพูดคุยที่เครียดเกินไป อาจจะมีช่วงที่ใก้ผ่อนคลาย หรือแบ่งการพูดคุยเป็นช่วง ๆ ก็ได้เช่นกัน

2. เข้าใจเนื้อหาของตัวเองและสิ่งที่ต้องการจะนำเสนอ 

การไลฟ์แต่ละแบบจะมีวิธีการดำเนินการ การพูดคุยและการดึงความสนใจที่ด่างกัน เช่น งานขายหรือการพูดคุย การสอน การสัมภาษณ์ เนื้อหาที่จะต้องคุยและรูปแบบเรื่องราวการดำเนินรายการจึงต่างกัน ดังนั้นมือใหม่จึงต้องเข้าใจในสิ่งที่จะต้องพูดคุย เข้าใจในสินค้า และเข้าใจเรื่องราวโดยรวมว่าผู้ชมจะได้รับอะไร การคิดว่าคุยไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีจุดประสงค์หรือประเด็นการพูดคุยอาจจะทำให้ผู้ชมรู้สึกได้ถึงความไม่พร้อมของผู้ไลฟ์ได้ (แต่ก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การไลฟ์เช่นกัน เพราะอาจจะเป็นการไลฟ์เพื่อพบปะและพูดคุยแบบ Celebrity ก็ทำได้เหมือนกันนะ)

3. เลือกสิ่งที่ต้องใช้ เพื่อให้ได้คุณภาพทั้งงานภาพและเสียงและไม่เกินงบประมาณที่วางไว้ 

นอกจากเรื่องราวที่ต้องการพูดคุย การเตรียมตัวเรื่องคอนเทนต์แล้ว อุปกรณ์ที่ต้องใช้ก็มีส่วนที่จะทำให้งานไลฟ์ดูดี น่าสนใจดูมืออาชีพได้ กล้องที่ให้ความละเอียดของภาพสูง ไฟเสริมที่ช่วยเพิ่มแสงสว่างระหว่างการไลฟ์ ทั้งแสงสว่างโดยรวมและเฉพาะจุด ไมค์เก็บเสียงได้ดี การจัดการด้านเสียง เช่น เอฟเฟคเสียงเวลาพูดคุย โทนเสียงนุ่ม เสียงชัด และ กราฟิก เครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานระหว่างไลฟ์ได้คุณภาพทั้งภาพและเสียงและจากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการไลฟ์ ซึ่งอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ต้องเลือกเพื่อให้ได้ทั้งคุณภาพและงบประมาณที่ไม่เกินจากที่วางไว้ จะเลือกได้อย่างไรในตอนเริ่มแรก ก็อาจจะต้องศึกษาและหาข้อมูลว่า ตัวไหนใช้อย่างไร ราคาเท่าไหร่ และเหมาะกับการใช้งานประเภทใดนั่นเอง

4. ควบคุมเวลา โฟกัสกับสิ่งที่พูดและสิ่งที่ผู้ชมหรือผู้ฟังจะได้ ไม่ออกนอกเรื่องมากเกินไป

ใช้เวลาให้คุ้มค่า ควบคุมเวลาให้เหมาะสม เพราะการที่ผู้ชมและผู้ที่สนใจเข้ามารับชมหรือรับฟังการไลฟ์สอน ขายของ หรือพูดคุยเรื่องที่สนใจ อาจจะต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่ผู้ชมจะมีสมาธิและจดจ่ออยู่กับเรื่องที่พูดคุยด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องคำนวณเวลาในแต่ละเรื่องที่จะพูดคุย การสอน หรือการขายสินค้าแต่ละตัวไว้ด้วยว่าน่าจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่ อาจจะพูดคุยนอกเรื่องเพื่อผ่อนคลาย หรือเชื่อมโยงความสนใจสนใจในแต่ละหัวข้อได้ แต่ก็ต้องควบคุมเวลาให้เกินจากที่วางแผนมากเกินไป

5. ถามคำถามหรือกระตุ้นให้เกิดคำถาม เพื่อผู้ชม/ผู้ฟังจะได้แสดงความคิดเห็น กระตุ้นให้มีการโต้ตอบ

ระหว่างการพูดคุยหรือแม้แต่ระหว่างการนำเสนอการขาย นอกจากจะเป็นฝ่ายที่ต้องพูดและนำเสนอแล้ว ผู้ไลฟ์ยังต้องมีวิธีการดึงความสนใจหรือกระตุ้นให้ผู้ชม ได้มีส่วนร่วมเพราะการไลฟ์เป็นการสื่อสารได้จากทั้งสองทาง จึงต้องเปิดโอกาสให้มีการถามตอบ หรือการส่งสัญญาณว่าผู้ชมยังอยู่ร่วมในการพูดคุย เช่น บอกให้กดตัวเลข กดสัญลักษณ์ หรือมีการให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ 

6. ซอฟต์แวร์หรือผู้ให้บริการในการไลฟ์ที่ใช้งานง่าย มีกราฟิก เพื่อให้ดูมืออาชีพ

เครื่องมือที่ดีจะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น ผู้ช่วยในการไลฟ์ที่สำคัญคือซอฟต์แวร์ผู้ให้บริการในการไลฟ์ เช่นการไลฟ์ลงบนแพลทฟอร์มที่ต้องการโดยตรงเช่น Facebook live, YouTube live, หรือจะใช้บริการที่สามารถไลฟ์ได้ทีเดียวแต่หลายแพลทฟอร์มก็ได้ OBS, Restream หรือ Streamyard ซึ่งจะมีลูกเล่นการใช้งาน และงานกราฟิกที่โดดเด่น ดูมืออาชีพ และยังใช้งานง่ายอีกด้วย ดังนั้นมือใหม่จึงต้องเลือกซอฟต์แวร์ที่คิดว่าตอบโจทย์การทำงานมากที่สุดและให้งานมีคุณภาพและได้งานแบบมืออาชีพมากที่สุดนั่นเอง 

7. ฝึกซ้อมการพูด การถามคำถาม หรือการพูดคุยเพื่อเพิ่มความคล่องและความมั่นใจ จะได้ไม่พูดผิดหรือตะกุกตะกัก

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการฝึกซ้อม การพูดคุยหรือเล่าเรื่องนำเสนอเรื่องราวได้อย่างลื่นไหล ต้องมีการฝึกฝน ฝึกซ้อมมาก่อนด้วยเช่นกันเพราะจะเป็นการช่วยเพิ่มความมั่นใจ เพิ่มความคล่องในการพูด การออกเสียง และทำให้ไม่ดูตะกุกตะกัก และนอกจากจะเตรียมตัวเองแล้ว การไลฟ์แบบมีผู้ร่วมไลฟ์ก็ต้องมีการซ้อมพูดคุยและบอกเนื้อหา และเตรียมตัวผู้รับเชิญ บอกคำถามคร่าว ๆ ว่าจะถามอะไร เพื่อให้ได้เตรียมตัวก่อน และผู้ชมจะได้รับชมและรับฟังการไลฟ์ที่ดูลื่นไหล เป็นธรรมชาติมากขึ้น

สมัครรับโปรโมชั่น

เพิ่มเพื่อน LINE@ เพื่อรับข่าวสารการเปิดตัวสินค้าและโปรโมชั่น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *