วิธีฝึกปรับแสงไฟสตูดิโอสำหรับคนเริ่มต้น ควรทำยังไงบ้าง เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้สำหรับมือใหม่ที่ทำงานสตูดิโอ แล้วต้องมีเรื่องการจัดไฟ ให้ความสว่างและสร้างความน่าสนใจให้กับสตูดิโอ จะเริ่มอย่างไรและจะฝึกปรับแสงไฟอย่างไร เรามาคุยกันครับ
1. เข้าใจอุปกรณ์และรู้ว่าอะไร ทำอะไร เพื่ออะไร ?
เทคโนโลยีของไฟสตูดิโอ ก็ถือว่ามาไกลพอสมควร เพราะจากที่ต้องใช้ไฟที่ให้ความสว่างด้วยและความร้อนด้วย ตอนนี้ไฟสตูดิโอก็สามารถที่จะให้ความสว่างได้ แต่ไม่เพิ่มความร้อนให้กับพื้นที่ภาพนอก โดยไฟสตูดิโอที่เราพูดกันบ่อย ๆ คือไฟแบบ Chip on board (COB) คือเป็นไฟแบบ LED ที่ให้ความสว่างสูงแต่ไม่สร้างความร้อน ออกแบบให้มีทั้งสีขาวฟ้า และแบบเหลืองทอง
นอกจากนี้ยังมีไฟแบบ RGB ที่ช่วยสร้างเอฟเฟคและความตื่นเต้นให้งานสตูดิโออีกด้วย โดยทั่วไปการทำงานสตูดิโอมักจะต้องมีไฟสตูดิโอต่อเนื่อง เพื่อเป็นแสงสว่างหลักเพื่อตัวแบบ และตัวกระจายแสงแบบต่าง ๆ ที่ช่วยให้แสงสว่างดูนุ่มนวล หรือกำหนดตำแหน่งการตกกระทบของแสงได้อย่างเจาะจง และนอกจากแสงจะนิ่มนวลแล้ว ไฟเสริมจะเป็นตัวช่วยที่ให้แสงและเงาบนตัวแบบดูมีมิติมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากอุปกรณ์หลัก ๆ แล้ว ยังมีไฟเสริมและแผ่นเจล ฟิลเตอร์ที่จะช่วยเปลี่ยน Pattern ของแสงที่ส่องไปยังจุดต่าง ๆ อีกด้วย
2. จัดวางไฟในองศาและทิศทางที่ตัวแบบเด่น และแยกออกจากพื้นหลังโดยอาศัยทิศทางแสงและเงา
ทิศทางของแสง ความสว่างของแสง มีผลต่อเรื่องราวและอารมณ์ของภาพและวิดีโอ การให้แสงสว่างโดยเน้นความสว่างเพียงอย่าง เดียว เน้นให้เห็นตัวแบบชัดเจน ลดพื้นที่ของเงามืด จะทำให้ภาพดูแบน ตัวแบบกลืนไปกับพื้นหลัง หรือการที่จะใช้ไฟหลักส่องเข้าที่ด้านบนของตัวแบบ สันจมูกสว่างทำให้เกิดเงามืดที่เบ้าตา ใต้คาง จะสร้างความรู้สึกลึกลับ เมื่อให้ความสว่างด้านหน้า โดยปรับให้เอียง ไม่เข้าหน้าตัวแบบตรงโดยเริ่มจาก 45 องศา แล้วค่อย ๆ ขยับ โดยอนุญาตให้มีเงาเกิดขึ้น จากนั้นมีไฟเสริมที่ช่วยเพิ่มความสว่างบางจุดที่ฉากหลัง ทำให้แสงสว่างกับเงาที่เกิดบนตัวแบบ ทำให้ตัวแบบจะดูแยกออกจากพื้นหลังได้
3. หาไฟสตูดิโอที่คุณภาพสูง ให้แสงสว่างเพียงพอต่อการใช้งาน และที่สำคัญไม่ทำให้สีเพี้ยน
ความสว่างเป็นเรื่องหลักในการเลือกใช้ไฟ แต่การให้สี หรือความเพี้ยนของสี เมื่อโดยไฟตกกระทบก็สำคัญไม่น้อยเช่นกัน ไฟคุณภาพจะมีความแม่นยำของสีสูง คือเมื่ออยู่ใต้ไฟ สีของวัตถุ จะให้สีเดียวกับสีที่ได้จากการวางวัตถุไว้กับแสงดวงอาทิตย์ในธรรมชาติ ดังนั้นไฟคุณภาพไม่ทำให้สีวัตถุเพี้ยนไป จึงดีกับงานภาพและงานสตูดิโอ โดยเฉพาะมือใหม่ที่ยังขาดประสบการณ์ด้านการแก้สีในกระบวนการ Post-processing
4. เพิ่มอุปกรณ์กระจายแสง และตัว Light modifier เพื่อรูปแบบแสงที่ใช่
ความนุ่ม ความสลัว หรือความแข็งกร้าวของแสง สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยการใช้งาน Light modifier แบบต่าง ๆ โดยปกติเราจะเห็นสตูดิโอใช้งานแบบ Softbox แบบสี่เหลี่ยม ที่จะช่วยลดความแข็งของแสงให้แสงที่กระทบลงบนตัวแบบดูนิ่มลง แต่ก็ยังมีแบบตะแกรงที่จะช่วยให้แสงยังมีความแข็งอยู่บ้าง แต่ก็ตัดบางส่วนให้นุ่มลงได้ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มของอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับทิศทางแสง ที่ช่วยให้ได้ทิศทางแสงอย่างเฉพาะเจาะจง
5. ปรับแสงและเงา เพิ่มสีสันที่สร้างความโดดเด่น หรือปรับมู้ดเพื่อให้สื่ออารมณ์ความรู้สึกได้อย่างที่ต้องการ
เมื่อได้ทิศทางแสงและความนุ่มนวลในแบบที่ต้องการ การเพิ่มมิติให้กับงานสตูดิโอ ด้วยการเพิ่มเงาพิเศษ ผ่าน Projection ก็จะช่วยเพิ่มเรื่องราว เพิ่มความเป็นเอกลักษณ์ในการทำงาน และลดเวลาการทำงานกับแสงในธรรมชาติลงได้ โดยมีรูปแบบเงาให้เลือก นอกจากนี้การปรับแต่งย้อมสีของแสงด้วยไฟ RGB ก็ช่วยให้ตัวแบบ หรือพื้นหลังดูโดดเด่นได้ด้วยเช่นกัน