ไฟสตูดิโอแรงไม่ได้มีแค่ความสว่างอย่างเดียว แต่ยังให้อะไรได้อีกเยอะ มือใหม่ต้องรู้ เมื่อเริ่มต้นทำงานสตูดิโอ สิ่งแรก ๆ ที่ต้องเลือกซื้อก็คือ ไฟสตูดิโอแรงที่ช่วยเพิ่มความสว่างและยังช่วยให้งานถ่ายภาพและวิดีโอง่ายขึ้น ซึ่งรู้หรือไม่ว่าไฟสตูดิโอที่พูดถึง ไม่เพียงแต่เลือกที่มีความสว่างสูงสุดเท่านั้น แต่การคำนึงถึงคุณสมบัติและประสิทธิภาพอื่น ๆ ก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญด้วยเช่นกัน
ไฟสตูดิโอสามารถปรับความสว่างได้ มีทั้งแบบละเอียดและเป็นสเต็ป
นอกจากความสว่างที่มีสูงแล้ว การปรับความสว่างก็ยังเป็นคุณสมบัติที่น่าสนใจของไฟสตูดิโอคุณภาพสูง เพราะการปรับความสว่างให้อ่อนลง หรือเข้มขึ้น ช่วยให้ปรับเพิ่มลดความสว่างในการทำงานได้ และในงานวิดีโอการปรับความสว่างอย่างละเอียด แบบ Dimming ที่ค่อย ๆ ขึ้น และค่อย ๆ ปรับลง 0-100% ช่วยให้ภาพที่เห็นไม่กระโดด ให้ความนุ่มนวล โดยการปรับไฟสตูดิโอบางตัว จะปรับไฟแบบเป็นขั้น เช่น 1-5 ขั้นซึ่งการปรับลักษณะนี้จะเหมาะสำหรับการทำงานแบบภาพนิ่งมากกว่า
คุณสมบัติเมื่อใช้งานกับ Light modifier
ไฟสตูดิโอคุณภาพบางรุ่น สามารถให้ความสว่างสูงพร้อมกับไฟที่นุ่ม ดูไม่แข็งกระด้าง แต่โดยปกติไฟที่ให้ความสว่างสูงมักจะต้องใช้ Light modifier รูปแบบต่าง ๆ เพื่อกระจายแสง สะท้อนแสง หรือปรับเปลี่ยนทิศทางแสง เพื่อให้ได้ไฟในแบบที่ต้องการโดยการต่อเข้าใช้กับ Light modifier จะมีเม้าท์ต่อเชื่อมที่ช่วยให้ใช้งานเข้ากันได้ดี
ปรับเปลี่ยนสีได้ หรือมีให้ใช้งานเพียงสีเดียว
โดยปกติเราจะเลือกไฟจากแสงขาวหรือแบบวอร์มไวท์ (Warm White) เพื่อใช้งานเพียงสีเดียว แต่สำหรับงานสตูดิโอ การเลือกไฟที่ครอบคลุมการทำงานก็จะช่วยลดต้นทุนในการทำงานลง ซึ่งต้นทุนที่พูดถึง ไม่เพียงแต่เรื่องเงินแต่หมายถึง เวลาและการลงแรงทำงานด้วย เพราะไฟสตูดิโอที่เลือกใช้ หากเลือกที่สามารถปรับสีได้ตามอุณหภูมิแสง จำลองแสงในธรรมชาติหรือเลียนแบบสีของแสงในธรรมชาติได้อย่างที่ต้องการ ลดการทำงานที่ต้องออกนอกสถานที่ หรือการรอแสงธรรมชาติที่มีช่วงเวลาแสงที่จำกัด หรือมีการปรับสีสันให้เป็นแบบ RGB ได้ เพื่อย้อมสีของแสง ตกแต่งงานภาพและวิดีโอ ก็ยังช่วยเสริม ด้านอารมณ์ มู้ด โทนของงานได้อีกด้วย
ไฟติดเหลืองติดฟ้า สีเพี้ยน ไม่แม่นยำ หรือให้สีสวยเป็นธรรมชาติ อ้างอิงสีได้
ไฟที่มีคุณภาพจะเป็นไฟที่สามารถให้สีที่ไม่เพี้ยนไฟจากความเป็นจริง โดยเมื่อแสงไฟกระทบกับวัตถุ จะให้สีเดียวกับเมื่อวัตถุนั้นถูกแสงสว่างในธรรมชาติกระทบ ดังนั้น ไฟสตูดิโอที่ถูกสร้างขึ้น จึงต้องคำนึงถึงความสามารถของไฟในด้านนี้ด้วย และจะมีค่าความแม่นยำของสีที่เป็นตัวเลข เช่น CRI / TLCI 97/98 ถ้าตัวเลขเข้าใกล้ 100 แสดงว่า ให้สีที่แม่นยำ เข้าใกล้กับสีที่ได้จากแสงธรรมชาติมากที่สุด ดังนั้นเมื่อเลือกซื้อไฟสตูดิโอ นอกจากความสว่างแล้ว อย่าลืมดูคุณสมบัติเรื่องความแม่นยำของสีด้วย
ใช้ได้เพียงไฟแบบต่อเนื่องหรือสามารถปรับให้กะพริบเป็นจังหวะเพื่อสร้างเอฟเฟคได้
นอกจากการให้ความสว่างได้อย่างต่อเนื่องเพื่อส่องไปยังตัวแบบแล้ว ความสามารถในการกะพริบของไฟ ก็ยังช่วยให้การทำงานของมือใหม่ได้ด้วย ซึ่งความสามารถดังกล่าวคือความสามารถในการสร้างเอฟเฟคแสงวาบ เช่น แสงพลุไฟ แสงวาบที่เกิดจากไฟกะพริบ ฟ้าร้องฟ้าผ่า จำลองการวาบของไฟจากแสงเทียบ หรือจากกองไฟ เพราะโดยปกติแล้วการทำงานวิดีโอ ต้องอาศัยการเล่าเรื่องที่น่าสนใจและสมจริง การมีเอฟเฟคไฟแสงวาบแบบต่าง ๆ จะช่วยให้เพิ่มความสมจริงในการเล่า และยังลดการทำงานของ Creator ลง โดยไม่ต้องเสียเวลาหาเอฟเฟคหรือสร้างเอฟเฟคแสงจากแหล่งอื่น